ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังก้าวหน้า การแข่งขันทางธุรกิจในทุกวงการก็ยิ่งเข้มข้น องค์กรที่สุขภาพดีจากภายในจะเป็นองค์กรที่ได้เปรียบ finbiz by ttb ขอแบ่งปันประสบการณ์การบริหารงานจากโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ในประเทศไทยแห่งหนึ่ง ที่ได้นำหลักการ LEAN หรือ การบริหารจัดการการผลิตหรือองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการขจัดความสิ้นเปลืองและสูญเปล่าของทุกกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า เพื่อให้ต้นทุนต่ำลง มาปรับใช้ในองค์กร ซึ่งพบว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดความสูญเปล่าได้อย่างมีนัยสำคัญ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กร

องค์กรทำไมต้อง LEAN

Learn, Unlearn และ Relearn “ลืมความรู้เดิม เติมความรู้ใหม่” คำพูดอมตะของ Jack Welch ซีอีโอของ General Electric ที่กล่าวว่า “เมื่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกเร็วกว่าอัตราการเรียนรู้ของคนในองค์กร จุดจบขององค์กรได้เริ่มต้นแล้ว” ดังนั้น คนในศตวรรษที่ 21 ต้อง ลืมความรู้เดิม เติมความรู้ใหม่ รับรู้เสมอว่าสิ่งที่พาเรามายืน ณ จุดนี้ อาจไม่ใช่สิ่งที่จะพาเราไปข้างหน้าได้

• ความท้าทายที่มากขึ้น การปรับตัวเพื่อรองรับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของประชากร หรือ ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ชราลงเรื่อย ๆ ในขณะที่มีอัตราการเกิดน้อยลง ภาคธุรกิจจะต้องเตรียมตัวเพื่อรับความท้าทายเหล่านี้

• ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานขององค์กรเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันนโยบายและกฎหมายต่าง ๆ มีเพิ่มขึ้น และทุกองค์กรมีภารกิจต้องช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โลกของเราสามารถดำรงค์อยู่อย่างดีได้ต่อไป

• ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เทคโนโลยี เช่น 5G, IoT, Cloud และ AI กำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและเป็นเทรนด์สำคัญในธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การประยุกต์ใช้ LEAN ในองค์กร

การเปลี่ยนความสูญเปล่า (Waste) ให้เป็นคุณค่า (Value) คือหัวใจหลักของ LEAN โดยองค์กรต้องเริ่มต้นคิดแบบ LEAN มองว่าคุณค่าของกระบวนการคืออะไร ผู้รับบริการต้องการสิ่งใด และตัดขั้นตอนที่ไม่ใช่ออก นอกจากนี้ ยังมี DOWNTIME คือ ความสูญเปล่าที่ซ่อนอยู่ในกระบวนการ ได้แก่ 1) D-Defect Rework ความผิดพลาด 2) O-Overproduction ผลิตเผื่อมากเกินไป 3) W-Waiting การรอคอยเพราะจัดการไม่ดี 4) N-Not Using Staff Talent ภูมิรู้ที่สูญเปล่า 5) T-Transportation เส้นทางการขนส่งที่มากเกินความจำเป็น 6) I-Inventory วัสดุคงคลังที่มากเกินความจำเป็น 7) M-Movement การเคลื่อนที่ เคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น และ 8) E-Excessive Process มีขั้นตอนที่ไม่จำเป็น

ดังนั้น องค์กรต้องมองกระบวนการทั้งหมดเป็นสายธาร (Value Stream) และจัดการจุดอ่อน โดยหาให้เจอว่าตรงไหนคือ DOWNTIME ซึ่งเป็น “จุดอ่อน” จากนั้นจึงนำ LEAN, IT เทคโนโลยี ฯลฯ เข้าไปจัดการ นอกจากนี้ ความประทับใจของผู้รับบริการ ต้องอยู่พร้อมความสุขของผู้ให้บริการ บุคลากรในองค์กรต้องมีเครื่องมือ มีความรู้ และรู้สึก Engage กับองค์กร ต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ ปลูกฝัง Growth Mindset ให้กล้าจะตั้งเป้าที่ท้าทาย เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น โดยยึดหลัก LEAN คือ “วิถีชีวิต” ดังนั้นจะต้องมีการปรับลดความสูญเปล่าหรือสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ตลอดเวลาหมุนเวียนไม่รู้จบ

การปรับใช้แนวคิด LEAN ไม่ได้จำกัดเฉพาะในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเท่านั้น แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดความสูญเปล่า สร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้กับองค์กรและผู้ใช้บริการได้ในระยะยาว ส่งผลให้การบริหารงานก็จะประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

 

#ttbLEAN #LEANforSustainableGrowthbyttb #LEAN

#finbizbyttb #โครงการเสริมความรู้SME #ESG #smartSME #เอสเอ็มอียุคดิจิทัล

#ตัวช่วยเอสเอ็มอี #SMEเติบโตอย่างยั่งยืน #ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต

#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #ttb #MakeREALChange