กรุงเทพฯ 29 พฤศจิกายน 2566 – ในงานมอบรางวัล ฮีโร่อวอร์ด 2023 ครั้ง 7 ที่จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ที่กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา มีแขกผู้มีเกียรติกว่า 300 คน เข้าร่วมเป็นสักขีพยานและร่วมเชิดชูเกียรติบุคคล องค์กร และพันธมิตรที่ทำงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและเอชไอวีของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

โดยปีนี้ได้รับการสนับสนุนสถานที่จัดงานอย่างเป็นทางการโดยสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย โดยมี ดร.แอ็นสท์ ไรเชิล (HE. Dr Ernst Reichel) เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ร่วมกล่าวเปิดงาน

“งานมอบรางวัล ฮีโร่อวอร์ด 2023 ที่จัดโดยมูลนิธิแอ็พคอม และมีสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนี้ เป็นงานที่เชิดชูเกียรติผู้ที่มีความเป็นเลิศในการสร้างความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศให้เกิดขึ้นในชุมชน”

เนื่องด้วย ประเทศเยอรมนีเป็นประธานร่วมของกลุ่มพันธมิตรเพื่อสิทธิเท่าเทียม Equal Rights Coalition (ERC) ในปีนี้ ดร.แอ็นสท์ ยังได้กล่าวอีกว่าทางเยอรมนีอยากที่จะสนับสนุนรัฐบาลไทยให้เข้าเป็นสมาชิกแนวร่วมสิทธิที่เท่าเทียม ซึ่งจะกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียที่จะทำเรื่องนี้อีกด้วย

จากกว่า 17 บุคคลและองค์กรที่ถูกเชิดชูเกียรติในงาน มี 11 บุคคลและองค์กรได้รับรางวัลฮีโร่อวอร์ดในปีนี้

ทั้งนี้มีแขกผู้มีเกียรติทั้งจากเอกอัครราชทูตจากแคนาดาและลักเซมเบิร์ก และตัวแทนจากคณะทูตจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และตัวแทนชุมชนจาก 35 องค์กรใน 15 ประเทศทั่วภูมิภาคที่เข้าร่วม APCOM Community Summit 2023 มาร่วมในงานอีกด้วย

เรมี ชู (Remy Choo) จากสิงคโปร์ผู้ซึ่งได้รับรางวัลสาขา “ชีพอนันดา คาน เพื่อเชิดชูความสำเร็จยอดเยี่ยม” หรือ “Shivananda Khan Award” for Extraordinary Achievement สำหรับความพยายามของเขาในการยกเลิกมาตรา 377A ในสิงคโปร์ได้สำเร็จ

“ผมเป็นหนึ่งในทนายความที่ยื่นคำคัดค้านรัฐธรรมนูญในนามของคู่รักเกย์ แกรี ลิม (Gary Lim) และ เคนเนท ชี (Kenneth Chee) เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555 แต่น่าเสียดายที่ศาลอุทธรณ์สิงคโปร์ (ศาลสูงสุดของเรา) ปฏิเสธคำร้องนี้ในปี 2557 ซึ่งเราคิดว่านั่นจะเป็นจุดสิ้นสุดของการยื่นคำร้องในศาลแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ศาลฎีกาของอินเดียตัดสินว่า S377 ของประมวลกฎหมายอาญาของอินเดียขัดต่อรัฐธรรมนูญในปี 2017 ผมจึงได้รับการทาบทามให้ยื่นคำคัดค้านรัฐธรรมนูญอีกครั้ง แต่อย่างไรในท้ายที่สุดเรื่องนี้ถูกศาลอุทธรณ์ปฏิเสธอีกครั้งเมื่อต้นปี 2565 แต่เมื่อถึงเวลานั้น รัฐบาลสิงคโปร์ก็เริ่มมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับคำร้องของศาลซ้ำแล้วซ้ำเล่าที่ จนทำให้พวกเขาประกาศในช่วงสิ้นปี 2565 ว่าพวกเขาจะยกเลิกกฎหมาย S377A ในรัฐสภา” เรมีแสดงความคิดเห็น และพูดต่อว่าอีกว่า “มันเป็นเวลา 10 ปีพอดีหลังจากที่ผมยื่นคัดค้านรัฐธรรมนูญครั้งแรก เรื่องกฎหมาย S377A และ S377A และถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในรัฐสภาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 นี้”

นอกจากนี้ยังมีผู้รับรางวัลอื่น ๆ จากหลากหลายประเทศ ได้แก่ ภูฏาน อินเดีย ลาว ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี สองคนจากฟิลิปปินส์ อีกคนจากสิงคโปร์ ศรีลังกา และรวมถึงไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่ปาปัวนิวกินีได้รับรางวัลสาขาองค์กรชุมชนดีเด่น (Community Organisation) และเป็นรางวัลเดียวจากภูมิภาคแปซิฟิก

KPAC ให้ความสำคัญกับผู้นำชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงการสนับสนุนของเรา โดยการระดมพลทรัพยากร การเงิน และการให้คำปรึกษาต่าง ๆ แก่ผู้นำชุมชนคนอื่น ๆ ในรุ่นต่อ ๆ ไป” เลสลีย์ โบล่า (Leslie Bola) จาก Key Population Advocacy Consortium (KPAC) PNG เอ่ยต่อว่า “KPAC ขอขอบคุณผู้นำระดับภูมิภาคที่ยกระดับให้เรามาถึงระดับนี้ รวมไปถึงขอบคุณแชมเปี้ยนของเราทุกคนที่ให้คำปรึกษาและสนับสนุนเรามาโดยตลอด”

กระนั้นมีผู้ได้รับการเสนอชื่อบางคนปฏิเสธคำเชิญให้มาร่วมงาน เพราะกลัวตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มผู้ที่ไม่หวังดี บางท่านเองต้องบริหารจัดการงาน จากต่างประเทศ เพื่อความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่ดีนักสำหรับความเคลื่อนไหวด้านความหลากหลายทางเพศในภูมิภาคนี้

จาก 11 รางวัล มีผู้ที่ได้รับรางวัลฮีโร่อวอร์ด เป็น Transgender ถึง 3 รางวัล ได้แก่สาขาพันธมิตรธุรกิจดีเด่น (Business Ally) โดย TransTalents Consulting Group จากประเทศไทย, สาขาคนรุ่นใหม่กับความสำเร็จดีเด่น (Young Achiever) ได้แก่ แองเจิ้ล ควีนทัส (Angel Queentus) จากประเทศศรีลังกา และ สาขาฮีโร่คนข้ามเพศดีเด่น (Transgender Hero supported by APTN) ได้แก่ ลัดดาวัลย์ แสงดารา (Lattavanh Sengdala) จากประเทศลาว ซึ่งเธอได้เอ่ยว่า “ การเข้าถึงด้านสุขภาพที่ทั้งเปนมิตรและเข้าใจง่ายสำหรับคนข้ามเพศถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งเช่นกันเพื่อนข้ามเพศของเรายังคงเผชิญกับการตีตราและเลือกปฏิบัติเนื่องจากเพศของพวกเขา เราจำเป็นต้องร่วมมือกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้ความรู้แก่พวกเขา เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น”

 

วังด้า ดอร์จิ (Wangda Dorji) จากประเทศภูฏาน ผู้รับรางวัลสาขาฮีโร่ด้านเอชไอวีดีเด่น (HIV Hero) ที่สนับสนุน APN+ ซึ่งเป็นเครือข่ายระดับภูมิภาคสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี กล่าวว่า “ผมแต่งงานแล้ว มีลูกชาย 3 คน ลูกสาว 2 คน แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายของเชื้อเอชไอวี แต่ผมและภรรยาโชคดีที่ค้นพบสถานะของเราตั้งแต่เนิ่น ๆ ช่วยให้สามารถเริ่มยาต้าน และช่วยชีวิตได้ทันท่วงที รวมไปถึงการเตรียมตัวที่ดีสำหรับการคลอดบุตรหลังจากมีการวินิจฉัยว่ามี ลูกของเรา 3 คน ได้คลอดอย่างปลอดภัยและ ไม่ติดเชื้อเอชไอวีอีกด้วย ท้ายที่สุดแล้วครอบครัวของเราเพียงปรารถนาที่จะพบกับความสุขและความสงบสุขในชีวิตในขณะที่เราดำเนินชีวิตบนโลกนี้เท่านั้น”

งานมอบรางวัลงานมอบรางวัล ฮีโร่อวอร์ด ในปีนี้ยังคงยกย่องชีพอนันดา คาน ผู้ล่วงลับไปแล้วที่ให้ทุนสนับสนุนแก่มูลนิธิแอ็พคอม เขาเป็นฮีโร่ผู้บุกเบิกในการต่อสู้กับเรื่องสุขภาพ สิทธิ และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี และกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ

ทั้งนี้ในงานได้จัดให้มีการฉายคลิปวิดีโอสั้น ๆ เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของ Shivananda เพื่อขอบแสดงความขอบคุณ จากมูลนิธิแอ็พคอม และเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ทั่วโลก สำหรับการวางรากฐานที่แข็งแกร่งที่พวกเราได้มุ่งมั่นที่จะสร้างโครงสร้างนี้ให้แข็งแกร่งขึ้นอย่างแท้จริงด้วยกัน

ไมเคิล เคอร์บี (Michael Kirby) ทูตด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศของมูลนิธิแอ็พคอม ได้แสดงความคิดเห็นบนเวทีว่า “ผมอยากจะเริ่มต้นด้วยการรำลึกถึง Shiv Khan และการต่อสู้ดิ้นรนของเขา และคนอื่น ๆ ที่อยู่ในการปฏิวัติครั้งนี้…ซึ่งนี้มันคือการปฏิวัติที่แท้จริง…ผมอยู่ที่การประชุม ESCAP ในกรุงเทพฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วและผมสังเกตเห็นว่าประเด็นทั่วไปที่พวกเขาพูดกันคือ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง– แต่เมื่อผมฟังรายงานจากเอเชียและแปซิฟิก จริง ๆ แล้ว กลุ่มผุ้ที่มีความหลากหลายทางเพศก็ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง พวกเขาถูกทิ้งไว้จริง ๆ”

หลังจากนั้นไมเคิลยังคงเป็นประกาศผู้รับรางวัลชีพอนันดา คาน เพื่อเชิดชูความสำเร็จยอดเยี่ยม (“Shivananda Khan Award” for Extraordinary Achievement)

“คืนนี้เป็นหน้าที่และสิทธิพิเศษของผมที่จะประกาศรางวัล Shivananda Khan ให้กับ Remy Choo จากสิงคโปร์ เขาเป็นทนายความและเป็นผู้รับรางวัลที่เป็นเลิศ อีกทั้งยังเป็นนักต่อสู้อีกด้วย เขาต่อสู้ในศาลสิงคโปร์เมื่อปี 2556 เพื่อพยายามยกเลิกกฎหมายอาญาที่ต่อต้านกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และถึงแม้จะถูกปฏิเสธในครั้งนั้นเขาไม่ยอมแพ้ และยังต่อสู้คดีมาหลายปีจนกระทั่งรัฐบาลและรัฐสภาเปลี่ยนกฎหมายได้สำเร็จ”

งานนี้จัดขึ้นก่อนวันสิทธิความหลากหลายทางเพศของประเทศไทย (Thailand’s Gender Diversity Rights Day) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ก่อนวันเอดส์โลก ซึ่งปีนี้ธีมคือ “ให้ชุมชนเป็นผู้นำ” และก่อนวันสิทธิมนุษยชน ซึ่งปีนี้เฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปีของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้วย

ค่ำคืนที่ผ่านมาเต็มไปด้วยการแสดงจาก Mr. Gay World Thailand, Bangkok Gay Men’s Chorus, ดนตรีสดโดย Daddy and Bear และนักร้องซิลวี่ จาก Warner Music ที่มาร่วมแสดงกันการแสดงรอบสุดท้าย โดยมีตัวแทนชุมชนทำการแสดงแฟชั่นโชว์ พร้อมข้อความแห่งความหวัง ขณะที่พวกเขาเดินไปตามรันเวย์เพื่อส่งเสียงเชียร์จากผู้ชมที่ต่างทึ่งในความเป็นมืออาชีพของพวกเขา

“เราทำได้เพียงจัดทำแพลตฟอร์มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะนี้เพื่อฉายแสงให้กับงานอันน่าทึ่งบางส่วนที่ทำโดยบุคคล องค์กร และพันธมิตรทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เนื่องจากเราได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เชื่อมั่นและลงทุนในชุมชนที่อุทิศตนเพื่อการใช้ชีวิตในโลกที่เท่าเทียมและยุติธรรมมากขึ้น ขอขอบคุณผู้รับรางวัลและผู้มีเกียรติทุกท่านสำหรับงานทั้งหมด ที่ทุกคนกำลังทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในชุมชนของทุกคนอย่างแท้จริง ขอขอบคุณสำหรับการแบ่งปันเรื่องราวในการช่วยสร้างความยืดหยุ่นและฟื้นฟูให้กับชุมชนอื่น ๆ  และขอขอบคุณผู้สนับสนุนและชุมชนเครือข่ายของเราที่ทำให้งานมอบรางวัลฮีโร่อวอร์ด ครั้งที่ 7 นี้ ประสบความสำเร็จได้ด้วยดี” กล่าวโดย มิดไนท์ ผู้อำนวยการมูลนิธิแอ็พคอม

 

 

สาขาชีพอนันดาคาน (Shivananda Khan Award for Extraordinary Achievement)

“…รางวัลนี้เป็นโอกาสในการเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือขึ้นพื้นฐานและระหว่างฝ่ายเพื่อแก้กฎหมายการลดทอนความเป็นอาชญากรรม (decriminalization) ในปัจจุบันยังมีอีก 65 ประเทศทั่วโลกยังคงเอาผิดกิจกรรมทางเพศส่วนตัวโดยสมัครใจและของคนเพศเดียวกัน ซึ่งในปี 2566 นี้ มี 65 ประเทศทั่วโลกที่ถือว่าการแสดงความรักระหว่างเพศเดียวกันถือเป็นอาชญากรรมอยู่

 

ดังที่เราได้เห็นในสิงคโปร์ การเอาผิดทางอาญาเป็นการตีตราและขัดขวางไม่ให้เกย์เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่พวกเขาต้องการ แม้ว่าเราจะโชคดีในสิงคโปร์ที่ได้เห็นการยกเลิกกฎหมายนี้ แต่พี่น้องกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศจำนวนนับไม่ถ้วนทั่วโลกยังคงต่อสู้ดิ้นรนภายใต้แอกของกฎหมายที่เหล่านักล่าอาณานิคมที่ทิ้งไว้ให้เรา ทั้ง ๆ ที่ ประเทศอื่น ๆ ได้เดินหน้าต่อไปมานานแล้ว”

 

เรมี ชู

ประเทศสิงคโปร์

 

 

สาขาพันธมิตรธุรกิจดีเด่น (Business Ally)

“การต่อสู้ของเราเพื่อสังคมที่ครอบคลุมและเท่าเทียมกันมากขึ้นนั้นยังห่างไกลจากจุดสิ้นสุด มันเป็นการต่อสู้ทางชนชั้น เป็นการเดินทางที่เราทุกคนกำลังเผชิญอยู่ ถึงกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และพันธมิตรทุกคน โปรดจำไว้ว่าการมีอยู่ของเราสะท้อนถึงเหรียญที่มีสองด้าน ที่มีทั้งความอยุติธรรม การกีดกันอย่างเป็นระบบ และในขณะเดียวกัน เราก็เป็นผู้ปฏิวัติประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เราจะไม่ไปไหนและจะใช้พื้นที่แห่งอำนาจของเรา และประสานมันเพื่อเรียกร้องพื้นที่อันชอบธรรมของเรา และเพื่อส่องแสงแห่งความเท่าเทียมกันต่อไป”

 

ณัฐินีฐิติ (นิกกี้) ภิญญาปิญชาน์

TransTalents Consulting Group

ประเทศไทย

 

 

 

สาขาพันธมิตรชุมชนดีเด่น (Community Ally)

“การเสริมอำนาจและการไม่แบ่งแยกคนข้ามเพศในบริษัทและสังคมโดยรวม คือ สิ่งที่ฉันมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ในฐานะปัจเจกบุคคล และผ่านองค์กร InHarmony ของฉัน อันที่จริง นี่เป็นชุมชนเดียวที่เราให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาด้านตำแหน่งงานอย่างจริงจัง ความสำเร็จต่าง ๆ เช่น งานมหกรรมจัดหางานระดับชาติสำหรับคนข้ามเพศโดยเฉพาะ และโครงการสนับสนุนโควิด-19 ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราต่อชุมชนคนข้ามเพศได้เป็นอย่างดี”

 

อานูพามา เอียสวาลัน

InHarmony

ประเทศอินเดีย

 

สาขาฮีโร่ชุมชนดีเด่น (Community Hero supported by ILGA Asia)

“ฉันต้องการอุทิศรางวัลนี้ให้กับชุมชนคนข้ามเพศที่กล้าหาญในปากีสถาน ที่กำลังต่อสู้อย่างหนักเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศของฉัน และรางวัลนี้เป็นแรงจูงใจให้ฉันทำงานต่อไปและสนับสนุนไปยังระดับโลกเพื่อสิทธิและศักดิ์ศรีของทุกคนในชุมชนของฉันด้วยเช่นกัน”

 

ไอช่า มุกฮาล

ประเทศปากีสถาน

 

 

สาขาองค์กรชุมชนดีเด่น (Community Organisation)

“KPAC ขอขอบคุณผู้นำระดับภูมิภาคที่ยกระดับให้เรามาถึงระดับนี้ รวมไปถึงขอบคุณแชมเปี้ยนของเราทุกคนที่ให้คำปรึกษาและสนับสนุนเรามาโดยตลอด”

 

เลสลีย์ โบล่า

Key Population Advocacy Consortium (KPAC) PNG

ประเทศปาปัวนิวกินี

 

 

สาขาฮีโร่โควิด-19 ดีเด่น (Covid19 Hero)

 

“รางวัลนี้ไม่ใช่แค่การยกย่องผลงานขององค์กรในระดับรากหญ้าเท่านั้น แต่เป็นการเฉลิมฉลองความเข้มแข็งและความสามัคคีภายในชุมชนของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศบนเกาะมินดาเนา จากการฝ่าฟันความท้าทายของโรคระบาดที่ผ่านมานั้น เราได้แสดงให้เห็นถึงพลังของความเห็นอกเห็นใจ การไม่แบ่งแยก และการสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างแน่วแน่ในชุมชนของเรา”

 

อาลวิน เฟอร์นันเดซ

Mujer LGBT+ Organisation

ประเทศฟิลิปปินส์

 

สาขาสุขภาพและสุขภาวะดีเด่น (Health and Wellbeing)

“เส้นทางของฉันง่ายขึ้นมากเพราะมีคนที่เป็น Queer ก่อนหน้าฉันปูทางมาให้ก่อนแล้ว ฉันจึงขอบคุณพวกเขาเสมอ ฉันอยากจะขอบคุณคุณ June Chua เป็นพิเศษ สำหรับการเป็นที่ปรึกษาที่ดีที่สุดเท่าที่ฉันเคยมี และขอบคุณแม่ของฉันที่อยู่ข้างฉันมาโดยตลอดไม่ว่ามันจะยากแค่ไหนก็ตาม และอยากบอกว่ากลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศอยู่ที่นี่มาโดยตลอด และจะอยู่ที่นี่ตลอดไป”

 

ดร.เจราไม แพไรร่า

ประเทศสิงคโปร์

 

 

สาขาฮีโร่ด้านเอชไอวีดีเด่น (HIV Hero supported by APN+)

“ผมรู้สึกภาคภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างท่วมท้นในขณะที่ยืนต่อหน้าทุกคน ในฐานะหนึ่งในผู้รับรางวัลอันทรงเกียรติฮีโร่อวอร์ด ประจำปี 2023 การได้รับเกียรตินี้ถือเป็นสถานที่พิเศษในใจของผม และผมขอบคุณอย่างสุดซึ้งจริง ๆ  ที่รับรู้งานที่ผมทำ และให้ผมได้เป็นฮีโร่ด้านเอชไอวีดีเด่นอีกด้วย”

 

วังด้า ดอร์จิ (Wangda Dorji )

ประเทศภูฏาน

 

สาขาความยุติธรรมทางสังคมดีเด่น (Social Justice)

 

“ในการบรรลุเรื่องการไม่แบ่งแยกอย่างแท้จริงเราต้องตระหนักด้วยว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมนั้นครอบคลุมถึงความเหลื่อมล้ำที่กว้างขวาง ความมุ่งมั่นของเราไม่สามารถจำกัดอยู่เพียงเรื่องเดียวหรือชุมชนเดียวเท่านั้น การเปิดรับความหลากหลายภายใต้กระบวนการเรียกร้องของเราเท่านั้นที่เราสามารถสร้างเส้นทางสู่สังคมที่ยุติธรรมและเสมอภาคอย่างแท้จริง”

 

ราเดม มูสาวา (Rhadem Musawah)

ประเทศฟิลิปปินส์

 

สาขาฮีโร่คนข้ามเพศดีเด่น (Transgender Hero supported by APTN)

 

“ในประเทศลาว ฉันทำงานในโครงการเอชไอวีเนื่องจากผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่ทราบว่าใครคือคนข้ามเพศ พวกเขารู้จักเฉพาะชายรักชายเท่านั้น จนถึงทุกวันนี้แม้พวกเขาตระหนักมากขึ้นว่าใครคือคนข้ามเพศ เราต้องทำงานต่อไปเพื่อสร้างชุมชนคนข้ามเพศของเราให้แข็งแรงขึ้น และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการไม่แบ่งแยกในชุมชน เราไม่สามารถทำงานเพื่อคนข้ามเพศได้หากไม่มีคนข้ามเพศ”

 

ลัดดาวัลย์ แสงดารา (Lattavanh Sengdala)

ประเทศลาว

 

สาขาคนรุ่นใหม่กับความสำเร็จดีเด่น (Young Achiever)

“ความสำเร็จนี้ไม่ใช่สิ่งที่ฉันทำคนเดียวได้ และยังมีอีกหลายคนที่สมควรได้รับรางวัลนี้ ฉันอยากจะขอบคุณสมาชิกชุมชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และเพื่อนๆ ของฉัน ฉันเริ่มมองเห็นอนาคตที่สดใสขึ้น การ กระทำของเราในวันนี้จะเป็นตัวกำหนดอนาคตสำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป มันถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องทำตอนนี้ฉันขอถ่อมตัวและซาบซึ้งสำหรับเวทีและรางวัลนี้”

 

แองเจิ้ล ควีนทัส (Angel Queentus)

ประเทศศรีลังกา

 

 

 

 

ข้อมูลผู้เข้าชิงรางวัล HERO Awards 2023

https://www.apcom.org/hero-awards-2023-the-honourees/

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://www.apcom.org/hero-awards/