• แสนสิริ ชวนคู่ค้าและพันธมิตรผู้เป็นฟันเฟืองสำคัญในการสร้างความยั่งยืน ร่วมงาน SANSIRI ECOLEADERSHIP FORUM พร้อมตอกย้ำแนวทางสู่ Net-Zero ร่วมกัน

• เปิดข้อมูลพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กุญแจสำคัญเพื่อการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต

• ชวนหาคำตอบว่าธุรกิจจะมีที่ยืนหรือไม่ ถ้าไม่ทำเรื่อง ESG อย่างจริงจัง

บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) อสังหาริมทรัพย์รายแรกของไทยที่ตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) จัดงาน SANSIRI ECOLEADERSHIP FORUM: Change Today, Chance Tomorrow ผนึก Green Supply Chain ฟันเฟืองสำคัญในการสร้างความยั่งยืน พร้อมชวนภาครัฐ

เอสเอ็มอี อสังหาริมทรัพย์ ร่วมถกวาระสำคัญเพื่อรับมือกับภาวะโลกเดือด ที่ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง พร้อมรับฟังข้อมูลสำคัญในการขับเคลื่อน Green Ecosystem เพื่อการปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตและเลือกวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน รวมถึงร่วมรับฟังพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต (จัดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ณ สิริ แคมปัส)

นำร่องโมเดล Green Supply Chain เติบโตอย่างยั่งยืน

นายอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย เปิดเผยว่า ภาวะโลกเดือดไม่ใช่เรื่องไกลตัว และภาคธุรกิจเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีบทบาทในการช่วยแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญอยู่ และนี่นับเป็นบทพิสูจน์สำคัญของแสนสิริ และ Green Leadership ที่จะร่วมกันปรับธุรกิจ กำหนดเส้นทาง สู่อนาคตที่ยั่งยืน และเติบโตไปด้วยกัน ด้วยการเปลี่ยนผ่านการดำเนินธุรกิจบนแนวทาง ESG (Environment – Social – Governance)

ปี 2567 นับเป็นก้าวสำคัญของแสนสิริในโอกาสดำเนินธุรกิจสู่ปีที่ 40 กับการก้าวสู่การเป็นเบอร์หนึ่งของผู้นำอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มภาคภูมิ ได้รับความเชื่อมั่นทั้งในด้านการออกแบบ การบริการ คุณภาพ และความยั่งยืน ปีนี้เราวางแผนเปิดตัว 46 โครงการใหม่ มูลค่า 61,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงที่สุดในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

เรามองว่าความยั่งยืนเกี่ยวเนื่องกับความเสี่ยงของธุรกิจด้วยเช่นกัน อาทิ ทรัพยากร ธรรมชาติที่ขาดแคลน อาจหมายถึงราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้น วัสดุทางเลือกเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ต้องมีการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและย่อยสลายได้ง่าย รวมถึงนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่, ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิตของแรงงาน รวมถึงมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความยากจนและการเข้าถึงบริการพื้นฐาน เพราะหากแรงงานไม่มีความสุข productivity อาจจะลดลง และส่งผลระดับ operation หยุดชะงัก จึงเป็นความท้าทายที่ธุรกิจจะต้องเข้าใจ ต้องผนวกแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนเข้าไปในกลยุทธ์ขององค์กร ต้องบูรณาการให้คอบคลุมมิติด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ไปพร้อมๆ กันอย่างสมดุล

แสนสิรินำเรื่องความยั่งยืนมาเป็นกลยุทธ์และการดำเนินงานของบริษัทอย่างจริงจัง พร้อมกับดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเราให้เติบโตไปด้วยกัน โดยเป้าหมายสูงสุดคือการร่วมมือกับพันธมิตร และสนับสนุนให้ Green Partner เติบโตไปด้วยกัน เพื่อผลักดันให้ทั้งอุตสาหกรรมและประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

แสนสิริมีการวางแผนดำเนินการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกองค์กร 3 ระดับ ได้แก่ แผนระยะสั้นในปี 2025 เพื่อลดคาร์บอนลง 20% (ล่าสุดปี 2023 ทำได้ 15%) แผนระยะกลางปี 2033 ตั้งเป้าที่ 50% พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในแผนระยะยาวปี 2050 รวมถึงการให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบ้านและคอนโดที่นำส่งแก่ผู้บริโภค เพื่อสอดรับไปกับแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

ในเส้นทางนี้ แสนสิริเราเดินไปคนเดียวไม่ได้ คู่ค้าที่ให้ความใส่ใจในเรื่องเดียวกันจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงได้นำร่องในการนำโมเดล Green Supply Chain มาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยเรามีผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานทั้งสามด้าน คือ Green Architecture and Design, Green Construction, Green Procurement ราว 4,000 ราย ทั้งหมดนี้คือฟันเฟืองสำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับภาคธุรกิจอสังหาฯ ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 1.05 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 5.8% ต่อจีดีพี

โมเดล Green Supply Chain เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนคู่ค้าที่มี DNA ในเรื่อง ESG และให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืนเช่นเดียวกับแสนสิริ ให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างเข้มข้น แม้รู้ว่าอาจต้องมีการเพิ่มเติมขึ้นมาของต้นทุน แต่เรามองภาพในระยะยาว เพราะเมื่อเกิด Economy of Scale แล้ว การดำเนินธุรกิจของทุกส่วน ทั้งเราและคู่ค้า จะเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ รวมถึงสร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนไปของโลก การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญมากขึ้น

แสนสิริเราเริ่มปรับจากตัวเองก่อน และส่งต่อประสบการณ์และองค์ความรู้ให้กับพาร์ตเนอร์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และมั่นใจว่า Green Supply Chain ที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ สามารถผลักดันให้เกิดเครือข่ายการทำงานใน Green Ecosystem ที่แข็งแกร่ง ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่เปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาด Green Economy มากขึ้น และเชื่อว่างาน SANSIRI ECOLEADERSHIP FORUM ในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญของแสนสิริในการมุ่งมั่นปฏิบัติตามหลักการของความยั่งยืน และสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

เตรียมพร้อมรับกติกาใหม่ “พ.ร.บ.โลกร้อน”

ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องใกล้ตัว

และส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนทั้งทางตรงและทางอ้อม ในส่วนของภาคธุรกิจ การปรับตัวเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้จากผลกระทบจาก

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการปรับเปลี่ยนธุรกิจและอุตสาหกรรมให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เท่าทันกระแสการบริโภคและการค้ายั่งยืน

นอกจากรับฟังวิสัยทัศน์ของแสนสิริ และข้อมูลพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะมีส่วนในการร่วมขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้ว ภายในงานยังได้จัด Special Talk หัวข้อ “Change Today, Chance Tomorrow” ประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

เอสเอ็มอี คือฟันเฟืองเชื่อมเศรษฐกิจ

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า ความยั่งยืนที่มีพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy; SEP) มีหลักคิดให้ความสำคัญกับคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่มีการพัฒนาและจัดการองค์ความรู้ในทุกระดับขององค์กร มุ่งสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นคุณธรรมในการบรรลุยุทธศาสตร์และกลยุทธ์องค์กรที่รองรับการเปลี่ยนแปลง มีเหตุมีผลคำนึงถึงต้นทุนและผลตอบแทนพอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่ให้เสียโอกาส ไม่เป็นภาระ แต่กลับเสริมศักยภาพองค์กร สร้างภูมิคุ้มกันองค์กรที่ดีในการพึ่งพาตนเองและเป็นที่พึ่งพิงให้ผู้อื่นได้ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง มีการบริหารความเสี่ยงรอบด้าน ซึ่งสอดคล้องกับ ESG ที่ต้องขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยภาวะความเป็นผู้นำที่ดี (Leadership) และใช้ประโยชน์นวัตกรรม (Innovation) นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainability) โดยสร้างการมีส่วนร่วมทุกระดับขององค์กร มุ่งยกระดับขีดความสามารถเพื่อเพิ่มคุณค่าและก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับระบบนิเวศธุรกิจที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจและสังคมพอเพียงเพื่อความยั่งยืน (Sufficiency for Sustainability)

การดีไซน์ ต้องโอบรับความยั่งยืน

นางสาวศรีอำไพ รัตนมยูร ประธานผู้บริหารสายงานการตลาด บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในโอกาสปีที่ 40 แสนสิริเราได้ Challenge ตัวเอง ภายใต้แนวคิด Design for Future และหนึ่งในแกนการออกแบบที่สำคัญคือ Design for Sustainability ที่พร้อมโอบรับความยั่งยืน รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม แสนสิริเราให้ความสำคัญกับการออกแบบที่ผสานแนวคิดความเข้าใจธรรมชาติ ต่อยอดอย่างสร้างสรรค์กับงานออกแบบ มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้งานได้จริง เช่น การนำเศษวัสดุจากการสร้างบ้านมาต่อยอดกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้งผ่านโครงการ Waste to Worth (หินอ่อน กระเบื้อง ไม้), ออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ติดตั้งโซลาร์เซลล์ เป็นต้น ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการออกแบบที่มีเป้าหมายมุ่งสู่ความยั่งยืน

การออกแบบถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนความยั่งยืน เพราะถือเป็นต้นน้ำในการพัฒนาโครงการ เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นที่กำหนดทิศทางและมาตรฐานของโครงการทั้งหมด การออกแบบที่ดีไม่เพียงแต่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การก่อสร้าง การขาย และการดูแลรักษาอีกด้วย

ภาคอสังหาฯ ถูกตั้งคำถามว่าเป็นกลุ่มที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง

นายองอาจ สุวรรณกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาโครงการแนวสูง บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์จะไม่ใช่กลุ่มที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง แต่ในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจนี้ต้องใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง แสนสิริและคู่ค้าเราคำนึงถึงสิ่งนี้มาโดยตลอด และได้หาแนวทางและปรับกลไกการทำงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดความเสี่ยงทางธุรกิจในอนาคต

แสนสิริ เรามีโรงงานพรีคาสท์สีเขียว เป็นรายแรกของอสังหาฯ ไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001 & ISO14001 ทั้งระบบบริหารงานคุณภาพและระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ได้รับการรับรองฉลากเขียวจากกระทรวง สามารถลดขยะภายในโรงงานได้มากถึง 98% (ไม่มีมลพิษทางเสียงและอากาศ) มีกำลังการผลิต 1,500,000 ตร.ม./ปี และสามารถผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปที่ใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย 3,700 ยูนิต/ปี

รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยวางรากฐานให้การก่อสร้างยั่งยืน เช่น นำระบบ BIM (Building Information Modelling) มาใช้สำหรับการทำแบบก่อสร้างและการวางแผนก่อสร้าง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงที่สุด ลดการใช้ทรัพยากรมากที่สุด ตลอดจนการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อติดตามความก้าวหน้าและบริหารจัดการทรัพยากรของโครงการ ซึ่งได้รับความร่วมมือในการดำเนินงานและการใช้งานร่วมกับพาร์ตเนอร์ของเราด้วยเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ยังได้เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการวัดผลที่ชัดเจน โดยมีการตั้งเป้าหมายในการลดผลกระทบจากงานก่อสร้าง เช่น การลดขยะก่อสร้างภายในไซต์งานลง 15% รวมถึงมีการกำหนดใช้วัสดุ Low Carbon 30% ใน TOR ซึ่งนอกจากการตั้งเป้าหมายแล้ว การวัดผล ก็เป็นที่ต้องให้ความสนใจ โดยมีการทำ Dashboard ในการเก็บข้อมูลและการจัดการขยะ ซึ่งเราพัฒนากันเองภายใน ปัจจุบันเราใช้เครื่องมือนี้ในการวิเคราะห์ วัดผล และจัดการขยะในไซต์ก่อสร้างของเรา

Green Ecosystem คือคีย์ไดรฟ์สู่การเปลี่ยนแปลง

นายประเสริฐ ตระการวชิรหัตถ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อส่วนโครงการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของแสนสิริ คือการนำโมเดล Green Supply Chain มาประยุกต์ใช้ร่วมทำงานกับคู่ค้า และเน้นการพัฒนาต่อยอดเพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และผลักดันให้คู่ค้าพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน

ในเรื่องการจัดซื้อ เราให้ความสำคัญกับการคัดเลือกวัสดุที่นำมาใช้ที่ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การผ่านการตรวจสอบและรับรองตามมาตรฐานที่กำหนด วัสดุบางประเภทต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือในการตรวจสอบและรับรองการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้ แสนสิริยังสนับสนุนการใช้วัสดุที่มีการรับรองจากองค์กรอื่น ๆ หรือการรับรองด้วยตัวเอง (Self-Certified) เพื่อให้มั่นใจว่าทุกกระบวนการในการพัฒนาโครงการจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ในปี 2566 ที่ผ่านมาเรามีการตั้งเป้าหมายการจัดซื้อวัสดุที่มีการรับรอง Self-Certified 30% ซึ่งเราบรรลุเกินกว่าเป้าหมายที่มีการจัดซื้อวัสดุดังกล่าวที่ 53% เรามีการวัดผลและติดตามผลที่จริงจัง และนำมาคำนวณในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร อีกทั้งในแง่ของการผลิตวัสดุ คู่ค้าของเราเองก็ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อเรานำผลิตภัณฑ์เหล่านี้มาใช้ บ้านที่เราส่งมอบให้กับลูกค้า

 

#Sansiri #SansiriNo1Brand #แสนสิริแบรนด์อันดับหนึ่ง

#Sansiri40years #YouAreMadeForLife

#SansiriSustainability #SustainabilityForum #ClimateAction